รอยต่อ p-n
รอยต่อ p-n

รอยต่อ p-n

รอยต่อ p-n (อังกฤษ: p-n junction) คือ บริเวณขอบเขตแดนหรือรอยเชื่อมต่อระหว่างสารกึ่งตัวนำสองประเภท ได้แก่สารแบบ p-type และแบบ n-type ภายในผลึกกึ่งตัวนำเดี่ยว รอยต่อ p-n นี้จะถูกสร้างขึ้นโดยการโด๊ป ด้วยวิธีการเช่นการปลูกไอออน หรือด้วยแพร่กระจายของสารเจือปน หรือด้วยการ epitaxy (การปลูกผลึกหนึ่งชั้นที่ถูกโด๊ปด้วย สารเจือปนประเภทหนึ่งบนด้านบนของชั้นผลึกที่ถูกโด๊ปด้วยสารเจือปนอีกประเภทหนึ่ง) ถ้าวัสดุที่เป็นรอยต่อนี้ถูกทำเป็นสองชิ้นแยกจากกัน รอยต่อนี้จะเป็นขอบเขตระหว่างสารกึ่งตัวนำที่ ยับยั้งการไหลของกระแสอย่างรุนแรง โดยทำให้อิเล็กตรอนและโฮลในสารกึ่งตัวนำกระจัดกระจาย.รอยต่อ p-n เป็น"สิ่งก่อสร้าง"เบื้องต้นของอุปกรณ์เซมิคอนดักเตอร์อิเล็กทรอนิกส์ส่วนใหญ่ เช่น ไดโอด, ทรานซิสเตอร์, เซลล์แสงอาทิตย์, LED และวงจรรวม โดยถูกนำมาใช้เป็น ทรานซิสเตอร์ทั่วไปและ Bipolar Junction Transistor ที่ประกอบด้วย p-n junction สองต้วต่อกันแบบอนุกรมในรูปแบบ n-p-n หรือ p-n-p การค้นพบ p-n junction มักจะให้เกียรติกับนักฟิสิกส์ชาวอเมริกัน รัสเซล Ohl แห่ง เบลล์แล็บ รอยต่อของ Schottky เป็น p-n junction กรณีพิเศษ ที่ซึ่งโลหะจะทำหน้าที่เป็นสารกึ่งตัวนำ ชนิด p